• เกี่ยวกับสำนักงาน
  • Home
  • เกี่ยวกับสำนักงาน

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.1 ข้อมูลพื้นฐาน

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.2 การบริหารงานและงบประมาณ

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.3 การจัดซื้อจัดจ้าง

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.4 การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.5 การส่งเสริมความโปร่งใส

ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต

ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.1 การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตในประเด็นสินบน

ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.2 การส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสแผนป้องกันการทุจริต

  • O32 แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต

  • O33 รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี

  • O34 มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

  • O35 รายงานผลการดำเนินการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายใน

อ่านเพิ่มเติม …การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส

  • ฮิต: 2163

กฎหมาย / ระเบียบ

พระราชบัญญัติสถิติ

 

พระราชบัญญัติ

 

กฎกระทรวง

ประกาศ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ

 

สำนักงานสถิติจังหวัดจันทบุรี

 

 

คำสั่ง

สำนักงานสถิติแห่งชาติ

 

สำนักงานสถิติจังหวัดจันทบุรี

 

 

  • ฮิต: 737

โครงสร้างและอำนาจหน้าที่

executive
 
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานสถิติจังหวัด
ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 สำนักงานสถิติจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้                                 
             001.png

โครงสร้าง (การแบ่งส่วนราชการภายใน) 

     ตามคำสั่งสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ 212/2564 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เรื่อง การแบ่งส่วนราชการเป็นการภายในสำนักงานสถิติจังหวัด ได้แบ่งโครงสร้างภายในสำนักงานสถิติจังหวัด ออกเป็น 3 กลุ่มงาน ดังนี้

S 24756227

     กลุ่มงานวิชาการสถิติและวางแผน  

  1. ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม นโยบาย และยุทธศาสตร์ภาครัฐ สำหรับจัดทำข้อมูลสถิติสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระดับพื้นที่
  2. จัดทำแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในระดับจังหวัด ให้สอดคล้องกับนโยบายระดับชาติและกระทรวง และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงานสถิติจังหวัด
  3. ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล จัดทำฐานข้อมูล จัดทำดัชนีชี้วัดด้านดิจิทัลในระดับพื้นที่ และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
  4. ส่งเสริม พัฒนาวิชาการสถิติ ให้คำปรึกษา และอำนวยการให้เกิดการจัดทำสถิติ จัดทำข้อมูลจากแหล่งใหม่ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งจัดหา เผยแพร่ และให้บริการข้อมูลสถิติ และสารสนเทศระดับพื้นที่
  5. ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลจังหวัด และศูนย์ดิจิทัลชุมชนให้เกิดการบูรณาการเชื่อมโยงการใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกัน
  6. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำข้อมูลสถิติ และสารสนเทศให้เป็นไปตามมาตรฐาน
  7. ประสาน สนับสนุน แผนงานโครงการของกระทรวงในการจัดทำข้อมูลร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวงและในระดับพื้นที่
  8. ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลแผนงานโครงการของสำนักงานเพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณของสำนักงานและรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณ
  9. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย 

     กลุ่มงานปฏิบัติการสถิติและดิจิทัล

  1. บริหารจัดเก็บข้อมูลโครงการสำมะโนและสำรวจตัวอย่าง รวมทั้งข้อมูลสถิติ และสารสนเทศ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ในระดับพื้นที่
  2. ส่งเสริมการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในระดับพื้นที่ เพื่อการจัดทำดัชนี ตัวชี้วัดด้านดิจิทัลในระดับพื้นที่
  3. ดำเนินการขับเคลื่อนงานของกระทรวงตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในระดับจังหวัด
  4. พัฒนาเทคนิคและวิธีการจัดเก็บข้อมูล สถิติ และสารสนเทศ ให้เหมาะสมกับพื้นที่
  5. ให้คำปรึกษา แนะนำด้านการจัดเก็บข้อมูลสถิติให้แก่ภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
  6. กำกับ ติดตาม และควบคุมการปฏิบัติงานจัดเก็บข้อมูล ทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ
  7. ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณ งานช่วยอำนวยการ งานประชาสัมพันธ์ งานธุรการ งานประชุม งานบุคคล งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะของสำนักงาน
  8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

     กลุ่มงานขับเคลื่อนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

  1. ส่งเสริม สนับสนุน การขับเคลื่อน การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ประชาชน โดยบูรณาการร่วมกันกับภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
  2. ส่งเสริม สนับสนุน การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจ SME อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ภาคบริการ ของชุมชนและประชาชนในพื้นที่
  3. ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในพื้นที่ตามภารกิจของกระทรวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. ส่งเสริม สนับสนุนการให้ความรู้และคำปรึกษาแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ให้กับหน่วยงานและประชาชน รวมทั้งประสานการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยร่วมกับหน่วยงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
  5. พัฒนาและบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบคลังข้อมูล ระบบศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล สนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูลด้านดิจิทัลในพื้นที่ และบริหารงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีดิจิทัลของสำนักงาน
  6. การจัดทำฐานข้อมูลการสื่อสาร จัดทำแผนและระเบียบปฏิบัติประจำด้านการสื่อสารในพื้นที่ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบสื่อสารในภาวะปกติและภาวะวิกฤตในพื้นที่ สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการสื่อสาร และการร่วมฝึกซ้อมแผนบริหารจัดการระบบสื่อสารในพื้นที่
  7. ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุนการดำเนินการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐในพื้นที่ ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนด
  8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

 

บุคลากรสำนักงานสถิติจังหวัดจันทบุรี

ข้าราชการ

 government officer 1

พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว และพนักงานขับรถ

employee2

  • ฮิต: 955

วิสัยทัศน์ พันธกิจ

วิสัยทัศน์ :​

    “ขับเคลื่อนระบบสถิติประเทศไทยเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน​”


พันธกิจ :

     1. ขับเคลื่อนแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
     ​2. พัฒนากระบวนการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์จากระบบสถิติ
     3. เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสถิติด้วยคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล
     4. สร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการใช้สถิติแก่ทุกภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ
         ด้วยการเพิ่มความสามารถในการให้บริการ
     5. เพิ่มศักยภาพองค์กรในด้านบุคลากร เทคโนโลยี และองค์ความรู้ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
               ​

​​​ยุ​ทธศาสตร์และเป้าประสงค์ : 
  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาขีดความสามารถองค์กรในทุกมิติ                   ​              
    เป้าประสงค์ที่ 1 ยกระดับองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
                         ​

  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 นำแผนแม่บทระบบสถิติฯ สู่การปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง​                   ​
    เป้าประสงค์ที่ 2 NSO สามารถขับเคลื่อนแผนแม่บทระบบสถิติฯ ได้ประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่กำหนด​
                         

  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับการผลิตสถิติด้วยนวัตกรรมดิจิทัล​
    เป้าประสงค์ที่ 3 การผลิตสถิติมีคุณภาพและมาตรฐานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการพัฒนาประเทศ​

  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยกระดับการให้บริการ และส่งเสริมการนำข้อมูลสถิติและสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ ​
                         ให้กับทุกภาคส่วน​  
    เป้าประสงค์ที่ 4.2 ขยายเครือข่ายการใช้ประโยชน์ข้อมูลสถิติและสารสนเทศ 
    เป้าประสงค์ที่ 4.3 ทุกภาคส่วนเข้าถึงข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้สะดวก รวดเร็ว     

  • ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน/strong>  
    เป้าประสงค์ที่ 5 องค์กรมีการบริหารจัดการที่เป็นเลิศและมีผลการดำเนินงานที่ตอบสนอง การพัฒนาประเทศ​ 

ค่านิยม (Core value) : SMART​ :               

 ​        S = Synergy ประสานความร่วมมือ
        ​M = Modern สื่อความทันสมัย                ​
        A = Agility ปรับตัวได้รวดเร็ว                
        R = Respect ยอมรับ                ​
        T = Transparency โปร่งใส ตรวจสอบได้​
     
  
วัฒนธรรมองค์กร  : 

​     ยึดหลักวิชา พร้อมหาสิ่งใหม่ ใส่ใจลูกค้า ศรัทธาองค์กร เอื้ออาทรต่อกัน รักมั่น สสช.

  • ฮิต: 455

ประวัติสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

   001      

          ราชการสถิติของประเทศไทย ได้กำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2458 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้ง "กรมสถิติพยากรณ์" ขึ้นในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 31 วันที่ 14 มีนาคม 2457 โดยมีเสด็จในกรมกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดี ทำหน้าที่รวบรวมหัวข้อ ทะเบียน และรายงานของกระทรวง ทบวง กรม เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ พยากรณ์ภาวการณ์ต่างๆ ล่วงหน้า โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเป็นที่ปรึกษา หลังจากนั้น กรมสถิติพยากรณ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ และสังกัดอีกหลายครั้งหลายหน แต่การปฏิบัติราชการสถิติยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไปโดยมิได้หยุดยั้งเรื่องต่างๆ ได้ถูกลำดับตามช่วงเวลาและขั้นตอนที่สำคัญๆ ซึ่งควรแก่การจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ของหน่วยงานดังนี้คือ

          เดือนกันยายน 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริ เห็นสมควรขยายขอบเขตหน้าที่ การปฏิบัติงาน ของกรมสถิติพยากรณ์ไปทางด้านพาณิชย์ด้วย จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์" แต่ยังคงสังกัดอยู่ใน กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ โดยได้มีการขยายงานเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติสาขาต่างๆ และได้จัดพิมพ์หนังสือสถิติรายงาน ประจำปี พ.ศ. 2459 (Statistical Yearbook) ออกเผยแพร่ เป็นเล่มแรกของประเทศไทย ซึ่งจัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ

002

          เดือนสิงหาคม 2463 ได้มีการยกฐานะ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ขึ้นเป็น "กระทรวงพาณิชย์" งานสถิติที่สังกัดอยู่ในกระทรวงนี้มีฐานะเป็นกรม และมีชื่อว่า "กรมสถิติพยากรณ์และสาธารณะ" ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2464 ได้โอนกรมสถิติพยากรณ์สาธารณะ มาสังกัดกรมบัญชาการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีชาวต่างประเทศเป็นหัวหน้าหน่วยงาน โดยที่ยังทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ และยังคงพิมพ์รายงานประจำปีออกเผยแพร่ ในปี พ.ศ. 2470 หัวหน้าหน่วยงานซึ่งเป็นชาวต่างประเทศ    ได้เดินทางกลับไป หม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี ทรงเข้ารับหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วยงานแทน และทรงได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งปลัดกรม ในเดือนพฤษภาคม 2476 ได้มีการโอน กรมสถิติพยากรณ์สาธารณะ ไปสังกัดอยู่กับกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ และลดฐานะเป็น "กองสถิติพยากรณ์" โดยมีหม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้ากอง และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กองประมวลสถิติพยากรณ์" เมื่อเดือนตุลาคม 2478 จากนั้น ได้ย้ายสังกัดขึ้นกับกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยหม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี ยังทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้ากอง และได้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลาง สำหรับการให้บริการข้อมูลสถิติ ในปี พ.ศ. 2479 ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการสถิติ ออกใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก เรียกว่า "พระราชบัญญัติการสถิติพยากรณ์ พุทธศักราช 2479" ซึ่งได้กำหนดหน้าที่ในการบริหารราชการสถิติของประเทศ และหน้าที่ของประชาชน ที่พึงปฏิบัติตาม พ.ร.บ. นี้ ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2485 ได้โอนกองประมวลผลสถิติพยากรณ์ ไปสังกัดกรมการสนเทศ กระทรวงพาณิชย์ และในเดือนพฤษภาคม 2486 ได้โอนกองประมวลสถิติพยากรณ์ กลับมาสังกัดกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรีตามเดิม ในระยะนี้มีผู้ต้องการใช้ข้อมูลสถิติเพิ่มมากขึ้น และความต้องการใช้สถิติใหม่ๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย จึงได้มีการพิจารณาปรับปรุงจัดวางมาตรฐานในการบริหารงานสถิติ เพื่อให้ส่วนราชการต่างๆ ที่มีงานสถิติได้ใช้ร่วมกัน จึงได้มีการบัญญัติศัพท์สถิติขึ้นใช้เป็นครั้งแรก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2493 ได้มีการโอนกองประมวลสถิติพยากรณ์ ไปสังกัดสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งในขณะนั้น เป็นทบวงการเมืองอิสระ มีฐานะเทียบเท่ากรม กองประมวลสถิติพยากรณ์ภายใต้สังกัดใหม่ ได้ขยายงาน และ ได้จัดทำงานสถิติที่สำคัญร่วมกับกระทรวงเกษตราธิการ คือ จัดทำสำมะโนเกษตรทั่วราชอาณาจักรขึ้นเป็นครั้งแรก ในเดือนพฤศจิกายน 2493

          ต่อมาได้มีการจัดตั้ง "สำนักงานสถิติกลาง (Central Statistical Office)" ขึ้นในสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ เมื่อเดือนธันวาคม 2493 โดยมีหม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี เป็นผู้อำนวยการสำนักงานสถิติกลางคนแรก ในช่วงนี้ได้พัฒนาและขยายงานสถิติออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าเดิม และได้มีการนำเครื่องจักรกล มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลสถิติ ในปี พ.ศ. 2494 เพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูล งานสำมะโนเกษตร หลังจากนั้นได้มีการประกาศใช้ "พระราชบัญญัติสถิติ 2495" ซึ่งทำให้สำนักงานสถิติกลาง มีอำนาจหน้าที่อย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านการบริหารกิจการสถิติของรัฐ การส่งเสริม และประสานงานสถิติ การทำสำมะโน สำรวจ การศึกษาอบรมวิชาสถิติ ตลอดจนการวิจัยในด้านวิชาการสถิติ

          เมื่อรัฐบาล ได้จัดตั้งสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้น ในสำนักนายกรัฐมนตรี ในเดือนกันยายน 2502 เป็นผลให้สำนักงานสถิติกลางได้รับการปรับปรุง และขยายงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ สำนักงานสถิติกลาง ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติหลายโครงการ ที่สำคัญๆ คือ โครงการสำมะโนประชากร พ.ศ. 2503 (เป็นสำมะโนประชากรครั้งที่ 6 ของประเทศไทย ซึ่งเป็นสำมะโนประชากรครั้งแรกของสำนักงานสถิติกลาง) และโครงการสำรวจการใช้จ่ายของครอบครัว

003

          สำนักงานสถิติกลาง ได้แยกส่วนราชการออกจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ และได้ยกฐานะเป็น "สำนักงานสถิติแห่งชาติ" มีฐานะเป็นกรม สังกัดอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2506 ซึ่งถือว่าเป็นวันก่อตั้งสำนักงาน โดยมีนายบัณฑิต กันตะบุตร เป็นเลขาธิการสถิติแห่งชาติคนแรก ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 80 ตอนที่ 50 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2506 และได้มีการขยายงานสถิติไปยังส่วนภูมิภาค โดยได้จัดตั้งสำนักงานสถิติจังหวัดขึ้นทุกจังหวัด ในปี พ.ศ. 2508 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีการพัฒนางานสถิติมาเป็นลำดับ ได้ดำเนินงานโครงการสถิติที่สำคัญๆ เสร็จไปหลายโครงการ และมีบทบาทในการประสานงานสถิติของรัฐ ซึ่งเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การจัดทำผังรวมงานสถิติของประเทศ นอกจากนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติ ยังนับว่าเป็นหน่วยราชการแห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้มีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ประมวลผลงานสำมะโนและสำรวจ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2508 ได้ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2508" แทนพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2495 โดยได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติสถิติบางมาตรา และกำหนดอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานสถิติของประเทศอย่างสมบูรณ์

          ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2535 โดยแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็น 9 กอง กำหนดอำนาจหน้าที่ของกองไว้ ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 91 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2535 ในปี 2536 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีการปรับปรุงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติอีกครั้ง โดยกำหนดให้มีสำนักงานสถิติจังหวัด เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตามประกาศในราชกิจจนุเบกษา เล่ม 110 ตอนที่ 207 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2536

          ในปีพ.ศ. 2555 ได้มีการออกกฏกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. 2555 โดยกำหนดให้มีราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนภูมิภาค และได้ระบุอำนาจหน้าที่ของศูนย์ สำนัก กองต่างๆ และสำนักงานสถิติจังหวัด ให้เหมาะสมกับสภาพงาน

  • ฮิต: 657