พระราชบัญญัติ สถิติ พ.ศ. ๒๕๕๐

พระราชบัญญัติ
สถิติ
พ.ศ. ๒๕๕๐

------------------------

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่  ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศ ว่า
       โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยสถิติ
       จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
       มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๕๐"
       มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้น ไป
       มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๐๘
       มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
       "สถิติ" หมายความว่า ข้อความหรือตัวเลขที่แสดงผลที่ประมวลจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้
       "การสำรวจ" หมายความว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นอยู่จริงเพื่อให้ได้มาซึ่งสถิติ
       "สำมะโน" หมายความว่า การสำรวจโดยการแจงนับจากทุกหน่วยที่เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ
       "การสำรวจตัวอย่าง" หมายความว่า การสำรวจโดยการแจงนับจากหน่วยที่เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ เพียงบางหน่วยที่เลือกเป็นตัวอย่าง
       "หน่วยงาน" หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นของรัฐ
       "ผู้อำนวยการ" หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ
       "พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้อำนวยการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
       มาตรา ๕ ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางของรัฐ ในการดำเนินการเกี่ยวกับสถิติตามหลักวิชาการ
       มาตรา ๖ สำนักงานสถิติแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไป นี้
       (๑) จัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงาน ทางสถิติของรัฐ
       (๒) จัดทำมาตรฐานสถิติเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบ
       (๓) ส่งเสริมและพัฒนางานสถิติของรัฐและ เอกชน
       (๔) จัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่าง หรืออำนวยการให้มีการสำรวจด้านต่าง ๆ ของประเทศ
       (๕) ประสานงานและหารือร่วมกับหน่วยงาน เพื่อจัดทำแผนกำหนดความรับผิดชอบในการดำเนินงานทางสถิติตามแผนแม่บทตาม (๑)
       (๖) แนะนำ ให้คำปรึกษา หรือความช่วยเหลือแก่หน่วยงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน และระเบียบวิธีในการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการประมวลผล และการวิเคราะห์ผลสถิติ
       (๗) ประสานกับหน่วยงานในการสร้างเครือ ข่ายสถิติ เพื่อให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูลสถิติที่สำคัญและเป็นปัจจุบันของประเทศ
       (๘) ให้บริการสถิติแก่หน่วยงาน องค์กรเอกชน และบุคคลทั่วไป
       (๙) เผยแพร่สถิติและจัดให้มีการศึกษาอบรม วิชาความรู้เกี่ยวกับสถิติ
       (๑๐) ร่วมมือและประสานงานกับต่างประเทศและ องค์การระหว่างประเทศในงานเกี่ยวกับสถิติ
       (๑๑) ปฏิบัติการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด และตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

       มาตรา ๗ ในการจัดทำแผนแม่ตามมาตรา ๖ (๑) ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติประสานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดทำให้สอดคล้องกับ นโยบายและแผนการพัฒนาประเทศและเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนแม่บทนั้น
       มาตรา ๘ หน่วยงานต้องจัดทำสถิติให้เป็นไปตามแผนกำหนดความรับผิดชอบตามมาตรา ๖ (๕) และดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรฐานสถิติ หน่วยงานใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานคณะรัฐมนตรี  เพื่อสั่งการตามที่เห็นสมควร
       มาตรา ๙ เมื่อหน่วยงานจะมีการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่างที่ประสงค์จะกำหนดให้ เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องให้ข้อมูล ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง กฎกระทรวงนั้นอย่างน้อยต้องมีสาระ สำคัญ ดังต่อไปนี้
       (๑) วัตถุประสงค์
       (๒) ระยะเวลา
       (๓) เขตท้องที่
       (๔) บุคคลซึ่งจะต้องให้ข้อมูลและวิธีการให้ข้อมูล
       (๕) หน่วยงานที่รับผิดชอบ

       มาตรา ๑๐ เมื่อได้มีกฎกระทรวงตามมาตรา ๙ แล้ว ให้ผู้อำนวยการประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีดำเนินการในการจัดทำสำมะโนหรือ การสำรวจตัวอย่างในเรื่องดังต่อไปนี้
       (๑) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
       (๒) คำถามที่บุคคลจะต้องให้ข้อมูลหรือรายละเอียดของแบบสอบถามที่บุคคลจะต้องกรอกข้อมูลและวิธีการกรอกข้อมูลในแบบสอบถาม
       (๓) ระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกสอบถามหรือส่งแบบสอบถาม
       (๔) ระยะเวลาที่บุคคลซึ่งต้องกรอกแบบสอบ ถามจะต้องส่งคืนแบบสอบถามที่ได้กรอกรายการแล้วแก่พนักงานเจ้าหน้าที่
       (๕) ข้อมูลอื่นที่ประชาชนสมควรทราบ

       มาตรา ๑๑ เมื่อมีประกาศตามมาตรา ๑๐ แล้ว บุคคลซึ่งจะต้องให้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๙ (๔)  มีหน้าที่ให้ข้อมูลหรือกรอกแบบสอบถามตามที่ กำหนดไว้ในมาตรา ๑๐ (๒) ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
       มาตรา ๑๒ เมื่อมีประกาศตามมาตรา ๑๐ แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในอาคารหรือที่ทำการของบุคคลซึ่งจะต้องให้ ข้อมูลหรือกรอกแบบสอบถาม ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาอื่นใดที่บุคคลนั้นได้แจ้งให้ทราบ เพื่อสอบถามข้อมูลหรือดำเนินการกรอกแบบสอบถาม หรือเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล  ในการนี้บุคคลดังกล่าวต้องอำนวยความสะดวกแก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ควร

       ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
       บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตาม แบบที่กำหนดในกฎกระทรวง

       มาตรา ๑๓ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่พบบุคคลผู้ซึ่งจะให้ข้อมูลหรือกรอกแบบสอบถาม ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล
       มาตรา ๑๔ ในหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้ความร่วมมือแก่สำนักงานสถิติแห่งชาติเพื่อ ประโยชน์ในการจัดสร้างเครือข่ายสถิติและพัฒนาฐานข้อมูลที่สำคัญและเป็น ปัจจุบันของประเทศ
       ในกรณีที่สำนักงานสถิติแห่งชาติจำเป็นต้องใช้ ข้อมูลจากการสำรวจ หรือข้อมูลจากบันทึกทะเบียน รายงาน หรือเอกสารอื่นใดที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานใด เพื่อการจัดทำสถิติที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ให้หน่วยงานนั้นจัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้สำนักงานสถิติแห่งชาติภายในสามสิบ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ
       ข้อมูลที่หน่วยงานต้องจัดส่งให้ตามวรรค หนึ่ง  หรือวรรคสองต้องไม่ระบุหรือเปิดเผยว่าเป็น ข้อมูลของบุคคลใด เว้นแต่บุคคลนั้นจะให้ความยินยอมเป็นหนังสือหรือเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อ ประชาชนหรือประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบได้อยู่แล้ว
       มาตรา ๑๕ บรรดาข้อมูลเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะรายที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องถือเป็นความลับโดยเคร่งครัด ห้ามมิให้ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือผู้ที่มีหน้าที่เก็บ รักษา เปิดเผยข้อมูลนั้นแก่บุคคลใดซึ่งไม่มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่
       (๑)  เป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนหรือ การพิจารณาคดีที่ต้องหาว่ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ นี้
       (๒)  เป็นการเปิดเผยต่อหน่วยงานเพื่อประโยชน์ในการ จัดทำสถิติ วิเคราะห์หรือวิจัย ทั้งนี้เท่าที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูล และต้องไม่ระบุหรือเปิดเผยถึงเจ้าของข้อมูล

       มาตรา ๑๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานหรือสำนักงานสถิติแห่งชาติต้องไม่นำบรรดา ข้อมูลหรือเฉพาะรายที่เจ้าของข้อมูลได้ให้ไว้หรือกรอกแบบสอบถามไปใช้ในกิจการอื่นนอกเหนือจาการจัดทำสถิติ วิเคราะห์หรือวิจัย
       มาตรา ๑๗ บรรดาข้อมูลที่อาจเปิดเผยได้ สำนักงานสถิติแห่งชาติอาจให้บริการข้อมูลนั้นต่อบุคคลทั่วไปได้ โดยอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นในการให้บริการข้อมูลนั้น ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ กำหนด
       มาตรา ๑๘ ผู้ใดไม่ให้ข้อมูล หรือไม่กรอกแบบสอบถามตามวิธีการที่กำหนดในประเทศตามมาตรา ๑๐ หรือไม่ส่งคืนแบบสอบถามที่ได้กรอกรายการแล้วแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานภายในระยะเวลาที่กำหนดในประกาศตามมาตรา ๑๐ (๔) หรือไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามพันบาท
       มาตรา ๑๙ ผู้ใดซึ่งมีหน้าที่ให้ข้อมูลตามมาตรา ๑๑ แต่จงใจให้ข้อมูลเป็นเท็จต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
       มาตรา ๒๐ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๕ หรือมาตรา ๑๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ
       มาตรา ๒๑ บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ หรือระเบียบที่ออกตามพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๐๘  และมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติ นี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้คงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราช บัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ประกาศหรือระเบียบตามพระราชบัญญัตินี้
       มาตรา ๒๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

       กฎกระทรวงนั้น  เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ บังคับได้


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์  จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี

หมาย เหตุ  :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้ใช้บังคับมานาน และมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันอันมีผลทำให้การ ดำเนินการของสำนักงานสถิติแห่งชาติในฐานะหน่วยงานกลางด้านงานสถิติของรัฐไม่ มีความชัดเจน รวมทั้งหลักเกณฑ์แลวิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งสถิติไม่ มีความคล่องตัวเพราะขั้นตอนก่อนเริ่มดำเนินการใช้ระยะเวลานาน ทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน ประกอบกับข้อมูลทางสถิติที่จัดทำขึ้นนั้นมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการพัฒนา หรือแก้ไขปัญหาในการบริหารงานของรัฐด้านต่าง ๆ ซึ่งควรจะมีการกำหนดวิธีการดำเนินการด้านสถิติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อความเป็นเอกภาพของสถิติ นอกจากนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริงและเป็นหลักประกันมิให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้ซึ่งต้องให้ข้อมูลจึงต้องกำหนดมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยต้องถือเป็นความลับอย่างเคร่งครัดและกำหนดโทษสำหรับผู้ซึ่งฝ่าฝืนหรือไม่ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ นี้

(คัดจากราชกิจจา นุเบกษาเล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๕๓ ก วันที่ ๑๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๐ หน้า ๒๒)

  • ฮิต: 1122