• Uncategorised
  • Home
  • Uncategorised

พระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐

พระราชบัญญัติ
ข้อมูลข่าวสารของราชการ
พ.ศ.๒๕๔๐
..................................................
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๐
เป็นปีที่ ๔๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

      พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช   มีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
      โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ
      จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้ 
       มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียก ว่า "พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐"
       มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้ บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป    
       มาตรา ๓ บรรดากฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ แทน
       มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ 
       "ข้อมูลข่าวสาร" หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือสิ่งใด ๆ  ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเอง หรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้
       "ข้อมูลข่าวสารของราชการ" หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับเอกชน
       "หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาศาลเฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี องค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพ หน่วยงานอิสระของรัฐและหน่วยงานอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
       "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" หมายความว่า ผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ    
       "ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล" หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้นหรือมีหมายเลขรหัส หรือสิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคนหรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้ว 
       "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ     
       "คนต่างด้าว" หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย และไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยและนิติบุคคลดังต่อไปนี้
       ( ๑ ) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีทุนเกินกึ่งหนึ่งเป็นของคนต่างด้าว ใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ ให้ถือว่าใบหุ้นนั้นคนต่างด้าวเป็นผู้ถือ
       ( ๒ ) สมาคมที่มีสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว
       ( ๓ ) สมาคมหรือมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของคน ต่างด้าว
       ( ๔ ) นิติบุคคลตาม ( ๑ ) ( ๒ ) ( ๓ ) หรือนิติบุคคลอื่นใดที่มีผู้จัดการหรือกรรมการเกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว
       นิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ถ้าเข้าไปเป็นผู้จัดการหรือกรรมการ สมาชิก หรือมีทุนในนิติบุคคลอื่น ให้ถือว่า ผู้จัดการหรือกรรมการ หรือสมาชิกหรือเจ้าของทุนดังกล่าวเป็นคน ต่างด้าว
       มาตรา ๕ ให้ นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ กระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
       มาตรา ๖ ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการขึ้น ในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิชาการ และธุรการให้แก่คณะกรรมการและคณะกรรมการ วินิจฉัย การเปิดเผย ข้อมูลข่าวสาร ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ และให้คำปรึกษาแก่เอกชนเกี่ยวกับ การปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด ๑
การเปิดเผย ข้อมูล
..................................................

       มาตรา ๗ หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ลงพิมพ์ใน ราชกิจจานุเบกษา
       ( ๑ ) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน
       ( ๒ ) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
       ( ๓ ) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
       ( ๔ ) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบาย หรือการตีความ ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
       ( ๕ ) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนดข้อมูลข่าวสารใดที่ได้มีการจัดพิมพ์ เพื่อให้เผยแพร่ตามจำนวนพอสมควรแล้ว ถ้ามีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา โดยอ้างอิงถึงสิ่งพิมพ์นั้นก็ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติวรรคหนึ่งแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐรวบรวมและจัดให้ มีข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนี่งไว้เผยแพร่เพื่อขายหรืจำหน่ายจ่ายแจก ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นตามที่เห็น สมควร
       มาตรา ๘ ข้อมูลข่าวสารที่ต้องลงพิมพ์ตามมาตรา ๗ ( ๔ ) ถ้ายังไม่ได้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา จะนำมาใช้บังคับในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้ใดไม่ได้ เว้นแต่ผู้นั้นจะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารนั้นตามความเป็นจริงมาก่อนแล้วเป็นเวลาพอสมควร
       มาตรา ๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ หน่วยงานของรัฐ ต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ ไว้ให้ประชาชน เข้าตรวจดูได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
       ( ๑ ) ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว
        ( ๒ ) นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา ๗ ( ๔ )
       ( ๓ ) แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ
       ( ๔ ) คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบ ถึงสิทธิหน้าที่ของ เอกชน
       ( ๕ ) สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงตามมาตรา ๗ วรรคสอง
       ( ๖ ) สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ
       ( ๗ ) มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการรายงานข้อเท็จจริงหรือข้อมูลข่าวสารที่นำมา ใช้ในการพิจารณาไว้ด้วยข้อมูลข่าวสารที่จัดให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ตามวรรค หนึ่ง ถ้ามีส่วนที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผย ตามมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๕ อยู่ด้วย ให้ลบหรือตัดถอนหรือทำโดยประการอื่นใดที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร นั้น บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตามย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดู ขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งได้ ในกรณีที่สมควรหน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ จะวางหลักเกณฑ์เรียกค่าธรรมเนียมในการนั้นก็ได้ ในการนี้ให้คำนึงถึงการช่วย เหลือผู้มีรายได้น้อยประกอบด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น   คนต่างด้าวจะมีสิทธิตามมาตรานี้เพียงใดให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยกฎ กระทรวง
       มาตรา ๑๐ บทบัญญัติมาตรา ๗ และมาตรา ๙ ไม่กระทบถึงข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้มีการเผยแพร่หรือเปิดเผยด้วยวิธีการอย่างอื่น
       มาตรา ๑๑ นอกจากข้อมูลข่าวสารของราชการที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว หรือที่จัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้แล้วหรือที่มี การจัดให้ประชาชนได้ค้นคว้าตามมาตรา ๒๖ แล้ว ถ้าบุคคลใดขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของ ราชการ และคำขอของผู้นั้นระบุข้อมูล ข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควร ให้หน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบจัดหาข้อมูลข่าวสานั้นให้แก่ผู้ขอภายในเวลาอันสมควร เว้นแต่ผู้นั้นขอจำนวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรข้อมูลข่าวสาร ของราชการใดมีสภาพที่อาจบุบสลายง่ายหน่วยงานของรัฐจะขอขยายเวลาในการจัดทำ สำเนาให้ในสภาพอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลข่าวสาร นั้นก็ได้ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ หน่วยงานของรัฐจัดหาให้ตามวรรคหนึ่งต้องเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่แล้วใน สภาพที่พร้อมจะให้ได้ มิใช่เป็นการต้องไปจัดทำ วิเคราะห์ จำแนกรวบรวมหรือจัดให้มีขึ้นใหม่ เว้นแต่เป็นการแปลสภาพเป็นเอกสาร จากข้อมูลข่าวสารที่บันทึกไว้ในระบบการบันทึกภาพหรือเสียงระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอื่นใด ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่ากรณีที่ขอนั้นมิใช่การแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า และเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพสำหรับผู้นั้นหรือเป็นเรื่องที่ จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ หน่วยงานของรัฐจะจัดหาข้อมูลข่าวสาร นั้นให้ก็ได้บทบัญญัติวรรคสามไม่เป็นการห้ามหน่วยงานของรัฐ ที่จะจัดให้มี ข้อมูลข่าวสารของราชการใดขึ้นใหม่ให้แก่ผู้ร้องขอหากเป็น การสอดคล้องด้วยอำนาจหน้าที่ตามปกติของหน่วยงานของรัฐนั้นอยู่แล้วให้นำความ ในมาตรา ๙ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับแก่การจัดหาข้อมูลข่าวสารให้ตามมาตรานี้ โดยอนุโลม
       มาตรา ๑๒ ในกรณีที่มีผู้ยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา ๑๑ แม้ว่าข้อมูลข่าวสารที่ขอจะอยู่ในความควบคุมดูแลของหน่วยงานส่วนกลางหรือ ส่วนสาขาของหน่วยงานแห่งนั้นหรือที่อยู่ในความควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ แห่งอื่นก็ตาม ให้หน่วยงานของรัฐที่รับ คำขอให้คำแนะนำเพื่อไปยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสาร นั้นโดยไม่ชักช้า ถ้าหน่วยงานของรัฐ ผู้รับคำขอเห็นว่าข้อมูลข่าวสารที่มี คำขอเป็นข้อมูลข่าวสารที่จัดทำโดยหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น และได้ระบุห้ามการเปิดเผยไว้ตามระเบียบที่กำหนดตามมาตรา ๑๖ ให้ส่งคำขอนั้นให้ หน่วยงานของรัฐผู้จัดทำข้อมูลข่าวสารนั้นพิจารณาเพื่อมีคำสั่งต่อไป
       มาตรา ๑๓ ผู้ใดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๗ หรือไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ตามมาตรา ๙ หรือไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ตนตามมาตรา ๑๑ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือเห็นว่าตนไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้นั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการ เว้นแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาตามมาตรา ๑๕ หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านตามมาตรา ๑๗ หรือคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา ๒๕ ในกรณีที่มีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งคณะกรรมการต้องพิจารณาให้ แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องเรียน ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นให้ขยายเวลาออกไปได้ แต่ต้องแสดงเหตุผลและรวมเวลาทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินหกสิบวัน

หมวด ๒
ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิด เผย
..................................................

       มาตรา ๑๔ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จะเปิดเผยมิได้
       มาตรา ๑๕ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยกก็ได้ โดยคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกัน
       ( ๑ ) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
       ( ๒ ) การเปิดเผยจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ หรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ตาม
       ( ๓ ) ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการเรื่องหนึ่งเรื่องใด แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการทำความเห็นหรือคำแนะนำภายในดังกล่าว
       ( ๔ ) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชิวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด
       ( ๕ ) รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำ สิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
       ( ๖ ) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผย หรือข้อมูลข่าวสารที่มีผู้ให้มาโดยไม่ประสงค์ให้ทางราชการนำไปเปิดเผยต่อผู้อื่น
       ( ๗ ) กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราช กฤษฎีกา
       คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ แต่ต้องระบุไว้ด้วยว่าเปิดเผยไม่ได้เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใดและเพราะ เหตุใดและให้ถือว่าการมีคำสั่งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นดุลยพินิจ โดยเฉพาะของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามลำดับสายการบังคับบัญชาแต่ผู้ขออาจอุทธรณ์  ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
       มาตรา ๑๖ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติว่าข้อมูลข่าวสารของราชการจะเปิดเผยต่อ บุคคลใดได้หรือไม่ภายใต้เงื่อนไขเช่นใด และสมควรมีวิธีการรักษามิให้รั่วไหลให้หน่วยงานของรัฐกำหนดวิธีการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารนั้น ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดว่าด้วยการรักษาความลับของทาง ราชการ
       มาตรา ๑๗ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นว่า การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใด อาจกระทบถึงผลประโยชน์ได้เสียของผู้ใด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งให้ผู้นั้น เสนอคำคัดค้านภายใยเวลาที่กำหนดแต่ต้องให้เวลาอันสมควรที่ผู้นั้นอาจเสนอคำ คัดค้านได้ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ที่ได้รับแจ้งตาม วรรคหนึ่ง หรือผู้ที่ทราบว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใดอาจกระทบถึงผลประโยชน์ ได้เสียของตน มีสิทธิคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้โดยทำเป็นหนังสือถึงเจ้า หน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ ในกรณีที่มีการคัดค้านเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ ต้องพิจารณาคำคัดค้านและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้คัดค้านทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่มีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้าน เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นมิได้จนกว่าจะล่วงพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์ตาม มาตรา ๑๘ หรือจนกว่าคณะกรรมการวินิจฉัยการปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้มีคำวินิจฉัยให้เปิด เผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้แล้วแต่กรณี
       มาตรา ๑๘ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดตามมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๕ หรือมีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของผู้มีประโยชน์ได้เสีย ตามมาตรา ๑๗ ผู้นั้นอาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสารภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้นโดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ
       มาตรา ๑๙ การพิจารณาเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร ที่มีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลนั้นไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาของคณะกรรมการ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือศาลก็ตามจะต้องดำเนินกระบวน การพิจารณา โดยมิให้ข้อมูลข่าวสารนั้น เปิดเผยแก่บุคคลอื่นใดที่ไม่จำเป็นแก่การพิจารณาและในกรณีที่จำเป็นจะ พิจารณาลับหลังคู่กรณีหรือคู่ความฝ่ายใดก็ได้
       มาตรา ๒๐ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดแม้จะเข้าข่ายต้องมีความรับผิดตามกฎหมายใด ให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ต้องรับผิดหากเป็นการกระทำโดยสุจริตในกรณีดังต่อไปนี้
       ( ๑ ) ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๑๕ ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามระเบียบตามมาตรา ๑๖
       ( ๒ ) ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๑๕ ถ้าเจ้าหน้าที่ ของรัฐในระดับตามที่กำหนด ในกฎกระทรวงมีคำสั่งให้เปิดเผยเป็นการทั่วไปหรือเฉพาะแก่บุคคลใดเพื่อประโยชน์อันสำคัญ ยิ่งกว่าที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะหรือชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรือประโยชน์อื่นของบุคคล และคำสั่งนั้นได้กระทำโดยสมควรแก่เหตุ ในการนี้จะมีการกำหนดข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในการใช้ข้อมูลข่าวสารนั้นตามความ เหมาะสมก็ได้การเปิดเผบข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งไม่เป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐพ้นจากความรับผิดชอบตามกฎหมายหากจะพึงมีในกรณีดังกล่าว

หมวด ๓
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
..................................................

       มาตรา ๒๑ เพื่อประโยชน์แห่งหมวดนี้ "บุคคล" หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทยและบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
       มาตรา ๒๒ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคง และหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง อาจออกระเบียบโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่มิให้นำบทบัญญัติวรรคหนึ่ง ( ๓ ) ของมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับกับข้อมูลข่าวสาร  ส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบ คุมดูแลของหน่วยงานดังกล่าวก็ได้ หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นที่จะกำหนดในกฎกระทรวงตามวรรคหนึ่งนั้น ต้องเป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งการเปิดเผยประเภทข้อมูลข่าวสาร ส่วนบุคคลตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ( ๓ ) จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อการดำเนินการของหน่วยงานดังกล่าว
มาตรา ๒๓ หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลดังต่อไปนี้
       ( ๑ ) ต้องจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพียงเท่าที่เกี่ยวข้องและจำเป็น เพื่อการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และยกเลิกการจัดให้มีระบบดังกล่าวเมื่อหมดความจำเป็น
       ( ๒ ) พยายามเก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่จะกระทบถึงผลประโยชน์ได้เสียโดยตรงของบุคคลนั้น
       ( ๓ ) จัดให้มีการพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาและตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องอยู่เสมอเกี่ยวกับสิ่งดังต่อไปนี้
               ( ก ) ประเภทของบุคคลทีมีการเก็บข้อมูลไว้
               ( ข ) ประเภทของระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
               ( ค ) ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ
               ( ง ) วิธีการขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารของเจ้าของข้อมูล
               ( จ ) วิธีการขอให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล
               ( ฉ ) แหล่งที่มาของข้อมูล
       ( ๔ ) ตรวจสอบแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในความรับผิดชอบให้ถูกต้องอยู่เสมอ
       ( ๕ ) จัดระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามความเหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้มีการนำไปใช้โดยไม่เหมาะสมหรือเป็นภัย ร้ายต่อเจ้าของข้อมูล ในกรณีที่เก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูลหน่วยงานของรัฐต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบล่วงหน้าหรือพร้อมกับการขอข้อ มูลถีงวัตถุประสงค์ที่จะนำข้อมูลมาใช้ ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ และกรณีที่ขอข้อมูลนั้นเป็นกรณีที่อาจให้ข้อมูลได้โดยความสมัครใจ หรือเป็นกรณีมีกฎหมายบังคับหน่วยงานของรัฐ ต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบในกรณีมีการให้จัดส่งข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไป ยังที่ใดซึ่งจะเป็นผลให้บุคคลทั่วไปทราบข้อมูลข่าวสารนั้นได้ เว้นแต่เป็นไปตามลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ
       มาตรา ๒๔ หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความ ควบคุมดูแลของหน่วยของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น หรือผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้า หรือในขณะนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นการเปิดเผย ดังต่อไปนี้
       ( ๑ ) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของตนเพื่อการนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ของ หน่วยงานของรัฐแห่งนั้น 
       ( ๒ ) เป็นการใช้ข้อมูลตามปกติภายในวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสาร ส่วนบุคคลนั้น
       ( ๓ ) ต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำงาน ด้านการวาง แผนหรือการสถิติหรือสำมะโนต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่ต้องรักษาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไว้ไม่ให้เปิดเผยต่อไปยังผู้อื่น
       ( ๔ ) เป็นการให้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยโดยไม่ระบุชื่อหรือส่วนที่ทำให้รู้ว่าเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคลใด
       ( ๖ )  ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อการป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ ปฏิบัติตามกฎหมาย การสืบสวน การสอบสวน หรือการฟ้องคดี ไม่ว่าเป็นคดีประเภทใดก็ตาม
       ( ๗ ) เป็นการให้ซึ่งจำเป็นเพื่อการป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของบุคคล
       ( ๘ ) ต่อศาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอข้อเท็จจริงดังกล่าว
       ( ๙ ) กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
       การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามวรรคหนึ่ง ( ๓ ) ( ๔ ) ( ๕ ) ( ๖ ) ( ๗ ) ( ๘ ) และ ( ๙ )  ให้มีการจัดทำบัญชีแสดงการเปิดเผย กำกับไว้กับข้อมูลข่าวสารนั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ กระทรวง
       มาตรา ๒๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ บุคคลย่อมจะมีสิทธิที่จะได้รู้ถึง ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน และเมื่อบุคคลนั้นมีคำขอเป็นหนังสือ หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นจะต้องให้บุคคลนั้นหรือผู้ กระทำการแทนบุคคลนั้นได้ตรวจดูหรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลส่วน ที่เกี่ยวกับบุคคลนั้น และนำมาตรา ๙ วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม การเปิดเผยรายงาน การแพทย์ที่เกี่ยวกับบุคคลใด ถ้ากรณีมีเหตุอันควร เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยต่อเฉพาะแพทย์ที่บุคคลนั้นมอบหมายก็ได้ ถ้าบุคคลใดเห็นว่าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนส่วนใด ไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริง ให้มีสิทธิยื่นคำขอเป็นหนังสือให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสาร แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลข่าวสาร ส่วนนั้นได้ ซึ่งหน่วยงานของรัฐจะต้องพิจารณาคำขอดังกล่าว และแจ้งให้บุคคลนั้นทราบโดยไม่ชักช้าในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลข่าวสารให้ตรงตาม ที่มีคำขอให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งไม่ยินยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารโดย ยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการและไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิร้องขอให้หน่วยงานของรัฐหมายเหตุคำขอของตนแนบ ไว้กับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องได้ ให้บุคคลที่กำหนดในกฎกระทรวงมีสิทธิดำเนินการตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔ และมาตรานี้แทนผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเจ้าของข้อมูลที่ถึงแก่กรรมแล้วได้

หมวด ๔
เอกสารประวัติศาสตร์
..................................................

       มาตรา ๒๖ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษาหรือมีอายุครบ กำหนดตามวรรคสองนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารนั้น ให้หน่วยงานของรัฐส่งมอบให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา   เพื่อคัดเลือกไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า กำหนดเวลาต้องส่งข้อมูลข่าวสารของ ราชการตามวรรคหนึ่งให้แยกประเภทดังนี้
       ( ๑ ) ข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา ๑๔ เมื่อครบเจ็ดสิบห้าปี
       ( ๒ ) ข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา ๑๕ เมื่อครบยี่สิบปีกำหนดเวลาตามวรรคสอง อาจขยายออกไปได้ในกรณีดังต่อไปนี้
               ( ๑ ) หน่วยงานของรัฐยังจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารของราชการไว้เองเพื่อประโยชน์ ในการใช้สอยโดยต้องจัดเก็บและจัดให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า ตามที่จะตกลงกับหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
               ( ๒ ) หน่วยงานของรัฐเห็นว่า ข้อมูลข่าวสารของราชการนั้น ยังไม่ควรเปิดเผยโดยมีคำสั่งขยายเวลากำกับไว้เป็นการเฉพาะราย คำสั่งการขยายเวลานั้นให้กำหนดระยะเวลาไว้ด้วย แต่จะกำหนดเกินคราวละห้าปีไม่ได้การตรวจสอบหรือทบทวนมิให้มีการขยายเวลาไม่เปิดเผยจนเกินความจำเป็นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ กระทรวงบทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้บังคับกับข้อมูล ข่าวสารของราชการตามที่คณะรัฐมนตรีออกระเบียบกำหนดให้หน่วยงานของรัฐหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องทำลายหรืออาจทำลายได้โดยไม่ต้องเก็บรักษา

หมวด ๕
คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
...........................................................

       มาตรา ๒๗ ให้มีคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ประกอบด้วยรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเลขาธิการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ๆ จากภาครัฐและเอกชน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกเก้าคนเป็น กรรมการให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งข้าราชการ ของสำนักงานปลัดสำนักนายก รัฐมนตรีคนหนึ่งเป็นเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วย เลขานุการ
       มาตรา ๒๘ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
       ( ๑ ) สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐและ หน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
       ( ๒ ) ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัตินี้ ตามที่ได้รับคำขอ
       ( ๓ ) เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือระเบียบของคณะรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัตินี้
       ( ๔ ) พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียนตามมาตรา ๑๓
       ( ๕ ) จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม แต่อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
       ( ๖ ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
       ( ๗ ) ดำเนินการเรื่องอื่น ตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
       มาตรา ๒๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๒๗ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง ผู้ที่พ้นจากตำแหน่งแล้วอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้
       มาตรา ๓๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๒๗ พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
       ( ๑ ) ตาย
       ( ๒ ) ลาออก
       ( ๓ ) คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสียบกพร่อง หรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ
       ( ๔ ) เป็นบุคคลล้มละลาย
       ( ๕ ) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนคนไร้ความสามารถ
       ( ๖ ) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดระหุโทษ
       มาตรา ๓๑ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประขุม ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ให้ ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมการวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
       มาตรา ๓๒ ให้คณะกรรมการมีอำนาจเรียกให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งวัตถุเอกสาร หรือพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณาได้
       มาตรา ๓๓ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารตามที่มีคำขอ ไม่ว่าจะเป็นกรณีตามมาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๒๕ ถ้าผู้มีคำขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริงและร้องเรียนต่อคณะกรรมการตามมาตรา ๑๓ ให้คณะกรรมการมีอำนาจเข้าดำเนินการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารของราชการที่เกี่ยวข้องได้และแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ร้องเรียนทราบหน่วย งานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องยินยอมให้คณะกรรมการ หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายเข้าตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองของตนได้ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยได้หรือไม่ก็ตาม
       มาตรา ๓๔ คณะกรรมการจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติงานอย่างใดอย่าง หนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้ และให้นำความในมาตรา ๓๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมวด ๖
คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
......................................................................

       มาตรา ๓๕ ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอของคณะ กรรมการ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัย อุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา ๑๔ หรือ มาตรา ๑๕ หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านตามมาตรา ๑๗ และคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา ๒๕ การแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัย การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งให้แต่งตั้ง ตามสาขาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของข้อมูลข่าวสารของราชการ เช่น ความมั่นคงของประเทศ เศรษฐกิจและการคลังของประเทศ หรือการบังคับใช้ กฎหมาย
       มาตรา ๓๖ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารคณะหนึ่ง ประกอบด้วยบุคคลตามความจำเป็น แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามคน และให้ข้าราชการที่คณะกรรมการแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ในกรณีพิจารณาข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐแห่งใด กรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าว สารซึ่งมาจากหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นจะเข้าร่วมพิจารณาด้วยไม่ได้ กรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร จะเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการไม่ได้
       มาตรา ๓๗ ให้คณะกรรมการพิจารณาส่งคำอุทธรณ์ให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร โดยคำนึงถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของคณะกรรมการวินิจฉัยการ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารแต่ละสาขาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้ รับคำอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้เป็นที่สุด และในการมีคำวินิจฉัยจะมีข้อสังเกตเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ ให้นำความในมาตรา ๑๓ วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยอนุโลม
       มาตรา ๓๘ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแต่ละสาขา วิธีพิจารณาและวินิจฉัย และองค์คณะในการพิจารณาและวินิจฉัยให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
       มาตรา ๓๙ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๒  และบทกำหนดโทษที่ประกอบกับบทบัญญัติดังกล่าวมา ใช้บังคับกับคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูล โดยอนุโลม

หมวด ๗
บทกำหนด โทษ
..................................................

       มาตรา ๔๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการที่สั่งตามมาตรา ๓๒ ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
       มาตรา ๔๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ กำหนดตามมาตรา ๒๐ ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บทเฉพาะกาล
..................................................

       มาตรา ๔๒ บทบัญญัติมาตรา ๗ มาตรา ๘ และมาตรา ๙ มิให้ใช้บังคับกับข้อมูลข่าวสารของราชการที่เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราช บัญญัตินี้ใช้บังคับให้หน่วยงานของรัฐจัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่ง หรือจัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามวรรค หนึ่งไว้เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ แล้วแต่กรณีทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการจะได้กำหนด
       มาตรา ๔๓ ให้ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๑๗ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการ ยังคงใช้บังคับต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๑๖ จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น



ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
นายกรัฐมนตรี


หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ ในระบอบประชาธิปไตยการให้ประชาชนมีโอกาสกว้างขวางในการได้รับข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ของรัฐเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่ประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทาง การเมืองได้ถูกต้องกับความเป็นจริง อันเป็นการส่งเสริมให้มีความเป็นรัฐบาลโดยประชาชนมากยิ่งขึ้น สมควรกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยมีข้อยกเว้นอันไม่ต้องเปิดเผยที่แจ้งชัดเจนและจำกัดเฉพาะข้อมูลข่าวสาร ที่หากเปิดเผยแล้วจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติหรือต่อประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคงและจะยังผลให้ประชาชนมีโอกาสรู้ ถึงสิทธิหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะปกปักรักษาประโยชน์ของตนได้อีกประการหนึ่งด้วย ประกอบกับสมควรคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสาร ของราชการไปพร้อมกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

  • ฮิต: 459

พระราชบัญญัติ สถิติ พ.ศ. ๒๕๕๐

พระราชบัญญัติ
สถิติ
พ.ศ. ๒๕๕๐

------------------------

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่  ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศ ว่า
       โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยสถิติ
       จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
       มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๕๐"
       มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้น ไป
       มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๐๘
       มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
       "สถิติ" หมายความว่า ข้อความหรือตัวเลขที่แสดงผลที่ประมวลจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้
       "การสำรวจ" หมายความว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นอยู่จริงเพื่อให้ได้มาซึ่งสถิติ
       "สำมะโน" หมายความว่า การสำรวจโดยการแจงนับจากทุกหน่วยที่เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ
       "การสำรวจตัวอย่าง" หมายความว่า การสำรวจโดยการแจงนับจากหน่วยที่เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ เพียงบางหน่วยที่เลือกเป็นตัวอย่าง
       "หน่วยงาน" หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นของรัฐ
       "ผู้อำนวยการ" หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ
       "พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้อำนวยการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
       มาตรา ๕ ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางของรัฐ ในการดำเนินการเกี่ยวกับสถิติตามหลักวิชาการ
       มาตรา ๖ สำนักงานสถิติแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไป นี้
       (๑) จัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงาน ทางสถิติของรัฐ
       (๒) จัดทำมาตรฐานสถิติเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบ
       (๓) ส่งเสริมและพัฒนางานสถิติของรัฐและ เอกชน
       (๔) จัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่าง หรืออำนวยการให้มีการสำรวจด้านต่าง ๆ ของประเทศ
       (๕) ประสานงานและหารือร่วมกับหน่วยงาน เพื่อจัดทำแผนกำหนดความรับผิดชอบในการดำเนินงานทางสถิติตามแผนแม่บทตาม (๑)
       (๖) แนะนำ ให้คำปรึกษา หรือความช่วยเหลือแก่หน่วยงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน และระเบียบวิธีในการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการประมวลผล และการวิเคราะห์ผลสถิติ
       (๗) ประสานกับหน่วยงานในการสร้างเครือ ข่ายสถิติ เพื่อให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูลสถิติที่สำคัญและเป็นปัจจุบันของประเทศ
       (๘) ให้บริการสถิติแก่หน่วยงาน องค์กรเอกชน และบุคคลทั่วไป
       (๙) เผยแพร่สถิติและจัดให้มีการศึกษาอบรม วิชาความรู้เกี่ยวกับสถิติ
       (๑๐) ร่วมมือและประสานงานกับต่างประเทศและ องค์การระหว่างประเทศในงานเกี่ยวกับสถิติ
       (๑๑) ปฏิบัติการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด และตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

       มาตรา ๗ ในการจัดทำแผนแม่ตามมาตรา ๖ (๑) ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติประสานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดทำให้สอดคล้องกับ นโยบายและแผนการพัฒนาประเทศและเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนแม่บทนั้น
       มาตรา ๘ หน่วยงานต้องจัดทำสถิติให้เป็นไปตามแผนกำหนดความรับผิดชอบตามมาตรา ๖ (๕) และดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรฐานสถิติ หน่วยงานใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานคณะรัฐมนตรี  เพื่อสั่งการตามที่เห็นสมควร
       มาตรา ๙ เมื่อหน่วยงานจะมีการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่างที่ประสงค์จะกำหนดให้ เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องให้ข้อมูล ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง กฎกระทรวงนั้นอย่างน้อยต้องมีสาระ สำคัญ ดังต่อไปนี้
       (๑) วัตถุประสงค์
       (๒) ระยะเวลา
       (๓) เขตท้องที่
       (๔) บุคคลซึ่งจะต้องให้ข้อมูลและวิธีการให้ข้อมูล
       (๕) หน่วยงานที่รับผิดชอบ

       มาตรา ๑๐ เมื่อได้มีกฎกระทรวงตามมาตรา ๙ แล้ว ให้ผู้อำนวยการประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีดำเนินการในการจัดทำสำมะโนหรือ การสำรวจตัวอย่างในเรื่องดังต่อไปนี้
       (๑) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
       (๒) คำถามที่บุคคลจะต้องให้ข้อมูลหรือรายละเอียดของแบบสอบถามที่บุคคลจะต้องกรอกข้อมูลและวิธีการกรอกข้อมูลในแบบสอบถาม
       (๓) ระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกสอบถามหรือส่งแบบสอบถาม
       (๔) ระยะเวลาที่บุคคลซึ่งต้องกรอกแบบสอบ ถามจะต้องส่งคืนแบบสอบถามที่ได้กรอกรายการแล้วแก่พนักงานเจ้าหน้าที่
       (๕) ข้อมูลอื่นที่ประชาชนสมควรทราบ

       มาตรา ๑๑ เมื่อมีประกาศตามมาตรา ๑๐ แล้ว บุคคลซึ่งจะต้องให้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๙ (๔)  มีหน้าที่ให้ข้อมูลหรือกรอกแบบสอบถามตามที่ กำหนดไว้ในมาตรา ๑๐ (๒) ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
       มาตรา ๑๒ เมื่อมีประกาศตามมาตรา ๑๐ แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในอาคารหรือที่ทำการของบุคคลซึ่งจะต้องให้ ข้อมูลหรือกรอกแบบสอบถาม ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาอื่นใดที่บุคคลนั้นได้แจ้งให้ทราบ เพื่อสอบถามข้อมูลหรือดำเนินการกรอกแบบสอบถาม หรือเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล  ในการนี้บุคคลดังกล่าวต้องอำนวยความสะดวกแก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ควร

       ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
       บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตาม แบบที่กำหนดในกฎกระทรวง

       มาตรา ๑๓ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่พบบุคคลผู้ซึ่งจะให้ข้อมูลหรือกรอกแบบสอบถาม ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล
       มาตรา ๑๔ ในหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้ความร่วมมือแก่สำนักงานสถิติแห่งชาติเพื่อ ประโยชน์ในการจัดสร้างเครือข่ายสถิติและพัฒนาฐานข้อมูลที่สำคัญและเป็น ปัจจุบันของประเทศ
       ในกรณีที่สำนักงานสถิติแห่งชาติจำเป็นต้องใช้ ข้อมูลจากการสำรวจ หรือข้อมูลจากบันทึกทะเบียน รายงาน หรือเอกสารอื่นใดที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานใด เพื่อการจัดทำสถิติที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ให้หน่วยงานนั้นจัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้สำนักงานสถิติแห่งชาติภายในสามสิบ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ
       ข้อมูลที่หน่วยงานต้องจัดส่งให้ตามวรรค หนึ่ง  หรือวรรคสองต้องไม่ระบุหรือเปิดเผยว่าเป็น ข้อมูลของบุคคลใด เว้นแต่บุคคลนั้นจะให้ความยินยอมเป็นหนังสือหรือเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อ ประชาชนหรือประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบได้อยู่แล้ว
       มาตรา ๑๕ บรรดาข้อมูลเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะรายที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องถือเป็นความลับโดยเคร่งครัด ห้ามมิให้ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือผู้ที่มีหน้าที่เก็บ รักษา เปิดเผยข้อมูลนั้นแก่บุคคลใดซึ่งไม่มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่
       (๑)  เป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนหรือ การพิจารณาคดีที่ต้องหาว่ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ นี้
       (๒)  เป็นการเปิดเผยต่อหน่วยงานเพื่อประโยชน์ในการ จัดทำสถิติ วิเคราะห์หรือวิจัย ทั้งนี้เท่าที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูล และต้องไม่ระบุหรือเปิดเผยถึงเจ้าของข้อมูล

       มาตรา ๑๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานหรือสำนักงานสถิติแห่งชาติต้องไม่นำบรรดา ข้อมูลหรือเฉพาะรายที่เจ้าของข้อมูลได้ให้ไว้หรือกรอกแบบสอบถามไปใช้ในกิจการอื่นนอกเหนือจาการจัดทำสถิติ วิเคราะห์หรือวิจัย
       มาตรา ๑๗ บรรดาข้อมูลที่อาจเปิดเผยได้ สำนักงานสถิติแห่งชาติอาจให้บริการข้อมูลนั้นต่อบุคคลทั่วไปได้ โดยอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นในการให้บริการข้อมูลนั้น ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ กำหนด
       มาตรา ๑๘ ผู้ใดไม่ให้ข้อมูล หรือไม่กรอกแบบสอบถามตามวิธีการที่กำหนดในประเทศตามมาตรา ๑๐ หรือไม่ส่งคืนแบบสอบถามที่ได้กรอกรายการแล้วแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานภายในระยะเวลาที่กำหนดในประกาศตามมาตรา ๑๐ (๔) หรือไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามพันบาท
       มาตรา ๑๙ ผู้ใดซึ่งมีหน้าที่ให้ข้อมูลตามมาตรา ๑๑ แต่จงใจให้ข้อมูลเป็นเท็จต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
       มาตรา ๒๐ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๕ หรือมาตรา ๑๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ
       มาตรา ๒๑ บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ หรือระเบียบที่ออกตามพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๐๘  และมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติ นี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้คงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราช บัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ประกาศหรือระเบียบตามพระราชบัญญัตินี้
       มาตรา ๒๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

       กฎกระทรวงนั้น  เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ บังคับได้


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์  จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี

หมาย เหตุ  :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้ใช้บังคับมานาน และมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันอันมีผลทำให้การ ดำเนินการของสำนักงานสถิติแห่งชาติในฐานะหน่วยงานกลางด้านงานสถิติของรัฐไม่ มีความชัดเจน รวมทั้งหลักเกณฑ์แลวิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งสถิติไม่ มีความคล่องตัวเพราะขั้นตอนก่อนเริ่มดำเนินการใช้ระยะเวลานาน ทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน ประกอบกับข้อมูลทางสถิติที่จัดทำขึ้นนั้นมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการพัฒนา หรือแก้ไขปัญหาในการบริหารงานของรัฐด้านต่าง ๆ ซึ่งควรจะมีการกำหนดวิธีการดำเนินการด้านสถิติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อความเป็นเอกภาพของสถิติ นอกจากนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริงและเป็นหลักประกันมิให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้ซึ่งต้องให้ข้อมูลจึงต้องกำหนดมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยต้องถือเป็นความลับอย่างเคร่งครัดและกำหนดโทษสำหรับผู้ซึ่งฝ่าฝืนหรือไม่ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ นี้

(คัดจากราชกิจจา นุเบกษาเล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๕๓ ก วันที่ ๑๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๐ หน้า ๒๒)

  • ฮิต: 683

คำรับรองการปฏิบัติราชการ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548

คำรับรองการปฏิบัติราชการ
ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548

 

       1.  คำรับรองระหว่าง
            ชื่อ นายไกรสร พรสุธี ตำแหน่งปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้รับคำรับรอง และ
            ชื่อ นายสือ ล้ออุทัย เลขาธิการสถิติแห่งชาติ ผู้ทำคำรับรอง
       2.  คำรับรองนี้เป็นคำรับรองผ่ายเดียว  มิใช่สัญญาและใช้สำหรับระยะเวลา  1  ปี  เริ่มตั้งแต่วันที่  1  ตุลาคม  2547  ถึงวันที่  30  กันยายน  2548
       3.  รายละเอียดของคำรับรอง ได้แก่ แผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ  กรอบการประเมินผลตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการ  น้ำหนัก  ข้อมูลพื้นฐาน  เป้าหมาย/เกณฑ์การให้คะแนน  และรายละเอียดอื่นๆ  ตามที่ปรากฏอยู่ในเอกสารประกอบท้ายคำรับรองนี้
       4.  ข้าพเจ้า  นายไกรสร    พรสุธี  ในฐานะผู้บังคับบัญชาของ  นายสือ    ล้ออุทัย  ได้พิจารณาและเห็นชอบกับแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ  กรอบการประเมินผล  ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการ  น้ำหนัก  ข้อมูลพื้นฐาน  เป้าหมาย/เกณฑ์การให้คะแนน  และรายละเอียดอื่นๆ ตามที่กำหนดในเอกสารประกอบท้ายคำรับรองนี้  และข้าพเจ้ายินดีจะให้คำแนะนำ กำกับ และตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการของ นายสือ    ล้ออุทัย  เลขาธิการสถิติแห่งชาติ ให้เป็นไปตามคำรับรองที่จัดทำนี้
      5.  ข้าพเจ้า  นายสือ    ล้ออุทัย  เลขาธิการสถิติแห่งชาติ  ได้ทำความเข้าใจคำรับรองตาม 3 แล้ว ขอให้คำรับรองกับนายไกรสร    พรสุธี  จะมุ่งมั่นปฏิบัติราชการให้เกิดผลงานที่ดีตามเป้าหมายของตัวชี้วัดแต่ละตัว ในระดับสูงสุด  เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน ตามที่ให้คำรับรองไว้
      6.  ผู้รับคำรับรองและผู้ทำคำรับรองได้เข้าใจคำรับรองการปฏิบัติราชการและเห็นพ้องกันแล้ว  จึงได้ลงลาย มือชื่อไว้เป็นสำคัญ

ไกรสร    พรสุธี

(นายไกรสร    พรสุธี)
ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
วันที่  16  มีนาคม  2548

สือ  ล้ออุทัย

(นายสือ  ล้ออุทัย)
เลขาธิการสถิติแห่งชาติ
วันที่  15  มีนาคม  2548

  • ฮิต: 936

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) พ.ศ. 2565

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในฐานะในผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามรัฐธรรมนูญ และมาตรฐานสากล จึงได้จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและสาธารณชนรับทราบและเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ หลักการ และมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งรวมถึงข้อมูลบุคลากร ผู้ใช้บริการ ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้จากการจัดทำสำมะโนหรือสำรวจตัวอย่าง ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ ผู้เข้าชมเว็บไซต์ หรือบุคคลอื่นที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ เก็บรวบรวม

สำนักงานสถิติแห่งชาติเก็บรวบรวมหรือได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้

1. ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ เก็บรวบรวมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรงในช่องทางให้บริการต่าง ๆ เช่น ขั้นตอนการสมัคร ลงทะเบียน สมัครงาน ลงนามในสัญญา เอกสาร ทำแบบสำรวจหรือใช้งานผลิตภัณฑ์ บริการ หรือช่องทางให้บริการอื่นที่ควบคุมดูแลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือเมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลติดต่อสื่อสารกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ ณ ที่ทำการหรือผ่านช่องทางติดต่ออื่นที่ควบคุมดูแลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นตัน

2. ข้อมูลที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ เก็บรวบรวมจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าใช้งานเว็บไซต์ผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่น ๆ ตามสัญญาหรือตามพันธกิจ เช่น การติดตามพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ผลิตภัณฑ์หรือบริการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ด้วยการใช้คุกกี้ (Cookies) หรือจากชอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น

3. ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ เก็บรวบรวมจากแหล่งอื่นนอกจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยที่แหล่งข้อมูลดั่งกล่าวมีอำนาจหน้าที่ มีเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายหรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแล้วในการเปิดเผยข้อมูลแก่สำนักงานสถิติแห่งชาติ รวมถึงจากความจำเป็นเพื่อให้บริการตามสัญญาที่อาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลกับหน่วยงานคู่สัญญาได้ นอกจากนี้ ยังหมายความรวมถึงกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลภายนอกแก่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ดังนี้ ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบในการแจ้งรายละเอียดตามนโยบายนี้หรือประกาศ ของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตามแต่กรณี ให้บุคคลตังกล่าวทราบ ตลอดจนขอความยินยอมจากบุคคลนั้นหากเป็นกรณีที่ต้องได้รับความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลแก่สำนักงานสถิติแห่งชาติ

4. ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้จากผู้ใช้บริการทุกท่านที่เข้ามาใช้บริการ เช่น อีเมลแอดเดรส (Email Address) ชื่อ (Name) ที่อยู่หรือที่ทำงาน (Home or Work Address) เขตไปรษณีย์ (ZIP Code) หรือหมายเลขโทรศัพท์ (Telephone Number) เป็นต้น ทั้งนี้ เป็นไปตามแบบฟอร์มในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลที่มีความจำเป็นในการให้บริการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ อาจเป็นผลให้สำนักงานสถิติแห่งชาติไม่สามารถให้บริการนั้นแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้ทั้งหมดหรือบางส่วน

ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล

1. ในกรณีที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้มีการเก็บรวบรวมตามกิจกรรมหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จะมีระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลตามระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ หรือที่เกี่ยวข้อง

2. ในกรณีเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในลักษณะข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จะมีระยะเวลาการเก็บรักษาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

3. สำนักงานสถิติแห่งชาติ จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไว้ในระยะเวลาเท่าที่ข้อมูลนั้นยังมีความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเท่านั้น ตามรายละเอียดที่ได้กำหนดไว้ใน นโยบาย ประกาศหรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เมื่อพันระยะเวลาและข้อมูลส่วนบุคคลของท่านสิ้นความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว สำนักงานสถิติแห่งชาติจะทำการลบ ทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของท่านหรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไม่สามารถระบุตัวตนได้ต่อไป ตามรูปแบบและมาตรฐานการลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลที่คณะกรรมการหรือกฎหมายจะได้ประกาศกำหนดหรือตามมาตรฐานสากล อย่างไรก็ดีในกรณีที่มีข้อพิพาท การใช้สิทธิหรือคดีความอันเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สำนักงานสถิติแห่งชาติขอสงวนสิทธิในการเก็บรักษาข้อมูลนั้นต่อไปจนกว่าข้อพิพาทนั้นจะได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุด

วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์หรือบริการหรือกิจกรรมที่ท่านใช้บริการ ตลอดจนลักษณะความสัมพันธ์ของท่านกับ สำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือข้อพิจารณาในแต่ละบริบทเป็นสำคัญ โดยวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้เป็นเพียงกรอบการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นการทั่วไป ทั้งนี้ เฉพาะวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ท่านใช้งานหรือมีความสัมพันธ์ด้วยเท่านั้นที่จะมีผลบังคับใช้กับข้อมูลของท่าน

1. เพื่อดำเนินการตามที่จำเป็นในการดำเนินประโยชน์สาธารณะที่สำนักงานสถิติแห่งชาติได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วง หรือเป็นการจำเป็นเพื่อใช้อำนาจทางกฎหมายที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2508 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 รวมถึงกฎหมาย กฎ ระเบียบหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง

2. เพื่อให้บริการและบริหารจัดการบริการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทั้งบริการภายใต้สัญญาที่มีต่อท่าน หรือตามพันธกิจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

3. เพื่อการดำเนินการทางธุรกรรมของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

4. ควบคุมดูแล ใช้งาน ติดตาม ตรวจสอบและบริหารจัดการบริการเพื่ออำนวยความสะดวกและสอดคล้องกับความต้องการของท่าน

5.เพื่อเก็บรักษาและปรับปรุงข้อมูลอันเกี่ยวกับท่าน รวมทั้งเอกสารที่มีการกล่าวอ้างถึงท่าน

6. จัดทำบันทึกรายการการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด

7. วิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับบริการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

8. เพื่อดำเนินการตามที่จำเป็นในการบริหารจัดการภายในองค์กร รวมถึงการรับสมัครงานการสรรหากรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ การประเมินคุณสมบัติ

9. ป้องกัน ตรวจจับ หลีกเลี่ยง และตรวจสอบการฉ้อโกง การละเมิดความปลอดภัย หรือการกระทำที่ต้องห้าม หรือผิดกฎหมาย และอาจเกิดความเสียหายต่อทั้งสำนักงานสถิติแห่งชาติ และเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคล

10. การยืนยันตัวตน พิสูจน์ตัวตนและตรวจสอบข้อมูลเมื่อท่านสมัครใช้บริการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือติดต่อใช้บริการ หรือใช้สิทธิตามกฎหมาย

11. ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการให้ทันสมัย

12. การประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยง

13. ส่งการแจ้งเตือน การยืนยันการทำคำสั่ง ติดต่อสื่อสารและแจ้งข่าวสารไปยังท่าน

14. เพื่อจัดทำและส่งมอบเอกสารหรือข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องและจำเป็น

15. ยืนยันตัวตน ป้องกันการสแปม หรือการกระทำที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือผิดกฎหมาย

16. ตรวจสอบว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าถึงและใช้บริการของสำนักงานสถิติแห่งชาติอย่างไร ทั้งในภาพรวมและรายบุคคล และเพื่อวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการค้นคว้า และการวิเคราะห์

17. ดำเนินการตามที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามหน้าที่ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ มีต่อหน่วยงานที่มีอำนาจควบคุม หน่วยงานด้านภาษี การตรวจเงินแผ่นดิน การบังคับใช้กฎหมาย หรือภาระผูกพันตามกฎหมายของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

18. ดำเนินการตามที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของสำนักงานสถิติแห่งชาติหรือของบุคคลอื่น หรือของนิติบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

19. ป้องกัน หรือหยุดยั้งอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคลซึ่งรวมถึง การเฝ้าระวังโรคระบาด

20. จัดเตรียมเอกสารทางประวัติศาสตร์เพื่อประโยชน์สาธารณะ การค้นคว้า หรือจัดทำสถิติที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ

21. เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ คำสั่งที่มีผลบังคับใช้ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับคดีความ การดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลตามหมายศาล รวมถึงการใช้สิทธิเกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

การใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

1. กรณีข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้มาตามพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๕0 สำนักงานสถิติแห่งชาติไม่มีการให้บุคคลอื่นใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากบุคคลที่มีสิทธิเข้าถึงและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลต้องเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานภายในขอบเขตของอำนาจหน้าที่ซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 เท่านั้น

2. สำนักงานสถิติแห่งชาติจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพียงเท่าที่จำเป็น เช่น ชื่อ และ ที่อยู่ เพื่อใช้ในการติดต่อ ให้บริการ ประชาสัมพันธ์ หรือให้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งสำรวจความคิดเห็นของท่านในกิจการหรือกิจกรรมของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เท่านั้น

3. ในกรณีที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ว่าจ้างหน่วยงานอื่นเพื่อให้ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เช่น การจัดส่งพัสดุไปรษณีย์ การวิเคราะห์เชิงสถิติในกิจการหรือกิจกรรมของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นต้น โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติจะกำหนดให้หน่วยงานที่ได้ว่าจ้างให้ดำเนินการดังกล่าว เก็บรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน และกำหนดข้อห้ามมีให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวไปใช้นอกเหนือจากกิจกรรมและกิจการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

4. สำนักงนสถิติแห่งชาติจะไม่ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวมได้โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องขอความยินยอมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือตามวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้แจ้งไว้

สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

สำนักงานสถิติแห่งชาติตระหนักถึงสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้แก่

1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (ม. 19 วรรคห้า)

2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (ม. 30 วรรคหนึ่ง)

3. สิทธิในการขอรับข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตน (ม. 31 วรรคหนึ่ง)

4. สิทธิในการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (ม. 32 วรรคหนึ่ง)

5. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (ม. 33 วรรคหนึ่ง)

6. สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (ม. 34 วรรคหนึ่ง)

7. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (ม. 36 วรรคหนึ่ง)

8. สิทธิ์ในการร้องเรียน (ม. 73 วรรคหนึ่ง) เพื่อประโยชน์ในการรักษาความเป็นส่วนตัวของท่น ท่านมีสิทธิเลือกที่จะให้มีการใช้หรือการแชร์ข้อมูลส่วนบุคลของท่าน หรืออาจเลือกที่จะไม่รับข้อมูลการประชาสัมพันธ์จากสำนักงานสถิติแห่งชาติก็ได้ โดยเพียงท่านกรอกความจำนงดังกล่าวเพื่อแจ้งให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทราบในหน้าเว็บไซต์ https://www.nso.go.th

การรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล

สำนักงานสถิติแห่งชาติ มีมาตรการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล โดยการจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลให้สามารถเข้าถึงได้โดยเจ้าหน้าที่เฉพาะรายหรือบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่หรือได้รับมอบหมายที่ มีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้แล้วเท่านั้น ซึ่งบุคคลดังกล่าวจะต้องยึดมั่นและปฏิบัติตามมาตรการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของสำนักงานสถิติแห่งชาติอย่างเคร่งครัด ตลอดจนมีหน้าที่รักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนเองรับรู้จากการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติมีมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลทั้งในเชิงองค์กรหรือเชิงเทคนิคที่ได้มาตรฐานสากล และเป็นไปตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด

นอกจากนี้ เมื่อสำนักงานสถิติแห่งชาติ มีการส่ง โอนหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคคลที่สามไม่ว่าเพื่อการให้บริการตามพันธกิจ ตามสัญญา หรือข้อตกลงในรูปแบบอื่น สำนักงานสถิติแห่งชาติจะกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลและการรักษาความลับที่เหมาะสมและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อยืนยันว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่ สำนักงานสถิติแห่งชาติ เก็บรวบรวมจะมีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ

เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงได้กำหนดระเบียบภายในหน่วยงานเพื่อกำหนดสิทธิในการเข้าถึงหรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน และเพื่อรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูลตามนโยบายและแนวปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทั้งนี้ ในกรณีที่ต้องให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์กรอกข้อมูล ได้มีการจัดให้มีการใช้ Secure Socket Layer (SSL) protoco! เพื่อรักษาความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์

ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติขอแนะนำให้ท่านตรวจสอบนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) ของเว็บไซต์อื่นที่เชื่อมโยงจากเว็บไซต์นี้ เพื่อจะได้ทราบและเข้าใจว่าเว็บไซต์ดังกล่าวเก็บรวบรวม ใช้หรือดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอย่างไร ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติไม่สามารถรับรองข้อความหรือรับรองการดำเนินการใด ๆ ตามที่ได้มีการประกาศไว้ในเว็บไซต์ดังกล่าวได้และไม่ขอรับผิดชอบใด ๆ หากเว็บไซต์เหล่านั้นไม่ได้ปฏิบัติการหรือดำเนินการใด ๆ ตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เว็บไซต์ดังกล่าวได้ประกาศไว้

การใช้คุกกี้ (Cookies)

"คุกกี้" คือ ข้อมูลที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ส่งไปยังโปรแกรมค้นผ่านเว็บไซต์ (Web browser)ของผู้ใช้บริการ และเมื่อมีการติดตั้งข้อมูลดังกล่าวไว้ในระบบของท่นแล้ว หากมีการใช้ "คุกกี้" ก็จะทำให้เว็บไชต์สำนักงานสถิติแห่งชาติ สามารถบันทึกหรือจดจำข้อมูลของผู้ใช้บริการไว้ จนกว่าผู้ใช้บริการจะออกจากโปรแกรมค้นผ่านเว็บไชต์ หรือจนกว่าผู้ใช้บริการจะทำการลบ "คุกกี้" นั้นเสีย หรือไม่อนุญาตให้ "คุกกี้" นั้นทำงานอีกต่อไป

หากท่านเลือกใช้ "คุกกี้" แล้ว ท่านจะได้รับความสะดวกสบายในการท่องเว็บไซต์มากขึ้นเพราะ "คุกกี้" จะช่วยจดจำเว็บไชต์ที่ท่านแวะชมหรือเยี่ยมชม ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติจะนำข้อมูลที่"คุกกี้" ได้บันทึกหรือเก็บรวบรวมไว้ ไปใช้ในการวิเคราะห์เชิงสถิติ หรือในกิจกรรมอื่นของสำนักงานสถิติแห่งชาติเพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ต่อไป

การปรับปรุงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สำนักงานสถิติแห่งชาติอาจพิจารณาปรับปรุง แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้ตามที่เห็นสมควรและจะทำการแจ้งให้ท่านทราบผ่านช่องทางเว็บไซต์ ww.w.nรo.go.th โดยมีวันที่มีผลบังคับใช้ของแต่ละฉบับแก้ไขกำกับอยู่ อย่างไรก็ดี สำนักงานสถิติแห่งชาติขอแนะนำให้ท่านโปรดตรวจสอบเพื่อรับทราบนโยบายฉบับใหม่อย่างสม่ำเสมอ ผ่านแอปพลิเคชัน หรือช่องทางเฉพาะกิจกรรมที่สำนักงนสถิติแห่งชาติดำเนินการโดยเฉพาะก่อนที่ท่านจะทำการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานสถิติแห่งชาติ

การเข้าใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ภายหลังการบังคับใช้นโยบายใหม่ถือเป็นการรับทราบตามข้อตกลงในนโยบายใหม่แล้ว ทั้งนี้ โปรดหยุดการเข้าใช้งานหากท่านไม่เห็นด้วยกับรายละเอียดในนโยบายฉบับนี้และโปรดติดต่อมายังสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อขี้แจงข้อเท็จจริงต่อไป

การปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการติดต่อกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ

ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย ข้อเสนอแนะ หรือข้อติชมใด เกี่ยวกับนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือการปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติยินดีที่จะตอบข้อสงสัยรับฟังข้อเสนอแนะ และคำติชมทั้งหลาย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการให้บริการของสำนักงานสถิติแห่งชาติต่อไป โดยท่านสามารถติดต่อกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตามที่อยู่ที่ปรากฎข้างล่างนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 2
เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 0-2142-1234
อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

  • ฮิต: 473

แบบสอบถามโครงการสำรวจ

ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
คุณต้องการข้อมูลสถิติด้านใดมากที่สุด?

  • ฮิต: 446