• บริการข้อมูลสารสนเทศ
  • Home
  • บริการข้อมูลสารสนเทศ

สถิติจากโครงการสำมะโน/สำรวจ ของสสช.

service 04

สถิติจากโครงการสำมะโน/สำรวจ ของสสช.

ข้อมูลสถิติจากการสำมะโน/สำรวจ จังหวัดกาฬสินธุ์

  • ฮิต: 12

ระบบบัญชีข้อมูลจังหวัด

ระบบบัญชีข้อมูลจังหวัดจันทบุรี

https://agencyas.nso.go.th/chtburi/

MAPChtburi

ความเป็นมา

         จันทบุรีเป็นเมืองเก่าจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เชื่อกันว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ ปี สร้างขึ้นโดยชนชาติชอง บางตำนานก็ว่าสร้างโดยชนชาติ ขอม หัวเมืองเดิมตามศิลาจารึกเรียกว่า “ควนคราบุรี” ชาวพื้นเมืองเรียกว่า “เมืองกาไว” ตามชื่อผู้ปกครอง เมืองจันทบุรีเดิมตั้งอยู่บริเวณหน้าเขาสระบาป มีชนพื้นเมืองเดิมอาศัยอยู่เรียกว่า ชาวชอง มีภาษาพูดเป็นภาษาของตนเอง ซึ่งแตกต่างจากภาษาไทยและภาษาเขมร เจ้าผู้ครองเมืองที่ยิ่งใหญ่ในตำนาน คือ พระเจ้าพรหมทัต (พ.ศ. ๑๓๔๙ - ๑๓๙๙) ครั้นถึงปี พ.ศ. ๑๘๐๐ ได้มีการย้ายถิ่นฐานมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านหัววัง ตำบลพุงทลาย ซึ่งอยู่ใกล้กับแม่น้ำจันทบุรีในปัจจุบัน

         ต่อมาปี พ.ศ. ๒๒๐๐ ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่ม อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงให้แก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีเพื่อใช้เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรวบรวมกำลังพลในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ในคราวนั้นเจ้าเมืองจันทบุรีนามว่า เจ้าขรัวหลาน (ยศเจ้าเมืองจันทบุรีเดิม) ซึ่งราษฎรเลือกขึ้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา โดยหวังว่าพระยาจันทบูรณ์จะช่วยปกป้องรักษาเมืองจันทบุรีให้อยู่รอดสืบต่อไป ได้ต่อต้านกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโดยได้พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เมืองจันทบุรีอยู่รอดเป็นอิสระ รักษาแผ่นดินไว้ให้ชนชาติบูรพา แต่สุดท้ายก็ต้องปราชัยพ่ายแพ้แก่กองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยพระองค์ทรงใช้พญาช้างศึกบุกชนกำแพงเมืองจนสามารถเข้าตีเมืองเอาไว้ได้สำเร็จ เจ้าเมืองจันทบุรี ได้หลบภัยไปอาณาจักรกัมพูชาจนถึงแก่อสัญกรรม เมืองจันทบุรีจึงตกเป็นของสยามนับแต่นั้นเป็นต้นมา

         ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ฝรั่งเศสได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้นานถึง ๑๑ ปี เนื่องจากไทยมีข้อพิพาทเรื่องดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยฝรั่งเศสกล่าวหาว่าไทยล่วงล้ำดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่วนไทยได้อ้างว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของไทย ฝ่ายไทยเห็นว่าจะต่อสู้กับทางทหารฝรั่งเศสไม่ได้ จึงขอเปิดการเจรจา ทางฝรั่งเศสยื่นคำขาด โดยฝ่ายไทยต้องยอมยกดินแดนที่เป็นข้อพิพาทรวมทั้งเกาะทั้งหมดในลำน้ำโขง พร้อมเงินอีกหนึ่งล้านฟรังก์และสามล้านบาท โดยจนกว่าจะดำเนินการเสร็จ ฝรั่งเศสจะยึดเมืองจันทบุรีไว้ก่อน แต่เมื่อทางไทยดำเนินการเสร็จ ฝรั่งเศสไม่ได้ถอนกำลังออกฝ่ายไทยจึงต้องยอมยกเมืองตราดและเมืองประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี และอีกหนึ่งปีต่อมาไทยยอมยกเมืองพระตะบองเสียมราฐ และศรีโสภณเพื่อแลกเมืองตราดคืนมา แต่ฝรั่งเศสไม่ได้คืนเมืองประจันตคีรีเขตร์แต่อย่างใด ปัจจุบันเมืองประจันตคีรีเขตร์จึงอยู่ในการปกครองของราชอาณาจักรกัมพูชา ต่อมา มีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล จัดตั้งมณฑลจันทบุรี โดยมีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด อยู่ในเขตการปกครองจนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๖ และภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลและได้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยแบ่งออกเป็นจังหวัดและอำเภอ ดังนั้นเมืองจันทบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบันนี้

ขนาดและที่ตั้ง

         จังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่บนพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑๒ - ๑๓ องศาเหนือ และเส้นแวงที่ ๑๐๑ - ๑๐๒ องศาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ ๒๔๕ กม. มีพื้นที่ทั้งหมด ๖,๔๖๖ ตารางกิโลเมตร หรือ ๔,๐๔๑,๒๕๐ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๑๘.๘๑ ของพื้นที่ภาคตะวันออก และเท่ากับร้อยละ ๑.๒๖ ของพื้นที่ทั้งประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
         ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา และอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
         ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด และราชอาณาจักรกัมพูชา
         ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย
         ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแกลง อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยองและอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

         สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของจังหวัดส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ ภูเขา และที่ราบสูง โดยอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ๓๐ - ๑๙๐ เมตร ทิศใต้เป็นชายฝั่งทะเลและที่ราบลุ่ม บางแห่งเป็นอ่าว แหลม และหาดทราย สูงจากระดับน้ำทะเล ๑ - ๕ เมตร จากลักษณะพื้นที่ดังกล่าวจึงมีการแบ่งลักษณะ

ภูมิประเทศออกเป็น ๓ ลักษณะ
         ๑. ป่าไม้ ภูเขา และเนินสูง เป็นลักษณะของภูมิประเทศทางด้านเหนือและตะวันออกของจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ เขตอําเภอแก่งหางแมว อําเภอท่าใหม่ อําเภอมะขาม อําเภอสอยดาว อําเภอโป่งน้ำร้อน และตอนบนของอำเภอขลุง บริเวณดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวน เขตอุทยานแห่งชาติ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และพื้นที่การเกษตรปลูกสวนผลไม้ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพืชไร่ เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น
         ๒. ที่ราบสลับภูเขา อยู่ทางตอนกลางของจังหวัด ได้แก่ พื้นที่ในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี อําเภอเขาคิชฌกูฏ ตอนบนของอําเภอท่าใหม่ อําเภอขลุง และตอนบนของอําเภอแหลมสิงห์ เป็นพื้นที่แหล่งน้ำที่ใช้ทําสวนผลไม้ เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด กระท้อน และพริกไทย
         ๓. ที่ราบชายฝั่งทะเล ได้แก่ พื้นที่ในเขตอำเภอนายายอาม ตอนล่างของอําเภอท่าใหม่ อําเภอแหลมสิงห์ และอําเภอขลุง มีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลสลับด้วยเนินเขา เป็นบริเวณป่าชายเลน

         ภูมิอากาศโดยทั่วไปจังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ในเขตที่มีอากาศร้อนชื้น มีฝนตกชุกติดต่อกันประมาณ  ๗ เดือนต่อปี และในปี ๒๕๕๖ ฝนตกจำนวนทั้งหมด ๑๗๒ วัน  วัดปริมาณน้ำฝนได้โดยรวม ๓,๗๑๑.๒๐ มิลลิเมตร และเดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุดในรอบปี คือ เดือนธันวาคม วัดได้  ๑๗.๔ องศาเซลเซียส เดือนที่มีอุณหภูมิสูงสุดในรอบปี คือ เดือนกุมภาพันธ์ วัดได้ ๓๗.๔ องศาเซลเซียส ภูมิอากาศโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออก คือจะมีอากาศร้อนชื้นและมีฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน

 

 

การจัดทำแผนพัฒนาสถิติระดับจังหวัด

 L10Old450

L4NSO450

3D

LANew450

- รายงานการประชุมคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 1/2561

- รายงานการประชุมคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 1/2562 

- รายงานการประชุมคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 2/2562 

- รายงานการประชุมคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 3/2562 

- รายงานการประชุมคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 1/2563 

- รายงานการประชุมคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 2/2563 

- รายงานการประชุมคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 1/2564

- รายงานการประชุมคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 2/2564

- รายงานการประชุมคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 1/2565

- รายงานการประชุมคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 2/2565

  • ฮิต: 39

รายงานสถิติจังหวัด

service 02

รายงานสถิติจังหวัด

แผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย, ชุดข้อมูลตามประเด็นยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนา

  • ฮิต: 27

ฐานข้อมูลระดับพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์

service 03

ฐานข้อมูลระดับพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์

การวิเคราะห์และการใช้ประโยชน์บัญชีข้อมูลจังหวัด การนำชุดข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลและใช้ประโยชน์บัญชีข้อมูลระดับจังหวัด

  • ฮิต: 15